เรียนรู้จากอีสปอร์ตที่ล้มเหลว ไม่ใช่การพนันก็มีความเสี่ยง
นักพนันสาย อีสปอร์ต อาจจะกำลังคิดสงสัยกับหัวข้อบทความในครั้งนี้กันอยู่หรือเปล่าว่าอีสปอร์ตที่ล้มเหลวคืออะไร เกมที่ใช้ในการแข่งขันอีสปอร์ตมีล้มเหลวด้วยอย่างนั้นหรือ? หรือจะกล่าวว่าเป็นการผลักดันให้เกมเข้าสู่วงการอีสปอร์ตแต่ล้มเหลวก็ได้ ซึ่งแน่นอนว่าเกิดขึ้นและมีจริงในวงการอีสปอร์ต แม้ว่าทาง SA365 จะเคยกล่าวถึงเกมหลายเกมที่อยากให้เป็นอีสปอร์ตแต่ก็ใช่ว่าทุกเกมนั้นจะได้เป็นอีสปอร์ต เช่นเดียวกับเกมเกมนี้ที่ไปไม่ถึงความฝันของอีสปอร์ตเช่นกัน
อีสปอร์ต ที่ล้มเหลว
เกมดังกล่าวที่พูดถึงอยู่ในตอนนี้ก็คือ Hearthstone เกมที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงจากภายในค่ายดัง Blizzard Entertainment ซึ่งเคยผลิตผลงานเกมชื่อดังมากมายมาแล้วในอดีต อย่าง Warcraft, StarCraft หรือ Overwatch ที่นักพนันสายอีสปอร์ตหรือนักพนันที่อยู่คลุกคลีในวงการเกมเป็นต้องรู้จักกันอย่างแน่นอน ซึ่งตัวเกม Hearthstone นี้ก็มีชื่อเรียกเดิมว่า Heroes of Warcraft เพราะมีรากฐานของเกมมาจากตัว Warcraft นั่นเอง และเหล่าเกมเมอร์ในวงการจึงเรียกติดปากกันว่า Hero
แต่ Hearthstone เป็นเกมที่แตกต่างจากเกมอื่นในวงการอีสปอร์ตอย่างสิ้นเชิง เพราะ Hearthstone เป็นเกมประเภทการ์ดหรือไพ่ ที่ใช้การต่อสู้ด้วยการดูเอล หรือก็คือใช้ฮีโร่บนไพ่ให้มาต่อสู้กัน โดยเกม Hearthstone ได้ถูกออกแบบมาด้วยทีมงานกลุ่มเล็ก ๆ ของบริษัทเท่านั้น ซึ่งพวกเขาก็หวังว่าหลังจากที่สร้างเกมไพ่ Hearthstone นี้ขึ้นมานั้นจะสามารถลบข้อผิดพลาดอื่น ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในเกมการ์ดได้ แม้ว่าเกม Hearthstone จะประสบความสำเร็จในการเปิดตัว 2014 และมีการจัดแข่งขันอีสปอร์ตของเกม Hearthstone ไปกว่า 3 ครั้ง ซึ่งครั้งล่าสุดก็คือปี 2018
ปี 2018 คือปีรุ่งเรืองของเกม Hearthstone เลยก็ว่าได้ เพราะเกม Hearthstone ได้มียอดผู้เข้าเล่นแตะหลักร้อยล้านคนได้เป็นครั้งแรก แต่หลังจากที่มีการจัดการแข่งขันอีสปอร์ตไปในครั้งนั้น กระแสของเกมก็เริ่มที่จะเงียบเหงา โดยเฉพาะในไทยที่กลายเป็นเกมเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้ที่รักในการดวลเกมการ์ดไปแล้ว
ทำไมเกม Hearthstone ถึงไม่รุ่งใน อีสปอร์ต
ไม่ใช่ทุกเกมที่ผลักดันเข้าวงการอีสปอร์ตสำเร็จแล้วจะไปได้สวยอยู่เรื่อยไป เกม Hearthstone เองก็เช่นกัน ทางบริษัท Blizzard Entertainment ได้พยายามที่จะผลักดันเกมให้เข้าสู่วงการอีสปอร์ตด้วยการจัดการแข่งขันใน BlizzCon งานรวมการแข่งขันเกมในเครือของบริษัทเพื่อการโปรโมตถึงสามครั้ง และในการแข่งขันใหญ่อีกหนึ่งครั้ง แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าไปรุ่งคี่ในปี 2018 ที่มีการจัดการแข่งขันครั้งใหญ่เท่านั้น
ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ หลายอย่างก็มีส่วนที่ทำให้เกมนี้ไปไม่รอด ต่อให้บริษัทจะพยายามเข็นเกมนี้เพื่อให้กลายเป็นเกมเสาหลักอย่าง Overwatch บ้าง แต่ไม่ว่าจะเข็นไปเท่าไร สุดท้ายก็กลิ้งกลับมาลงที่จุดเดิมอยู่ดี โดยทางเราได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้เกม Hearthstone ไปไม่ถึงฝั่งได้ดังนี้
1. ไม่ใช่เกมกระแสหลัก
ถึงแม้ว่าบางทีสายเกมการ์ดอย่างเรา ๆ อาจจะเติบโตมากับการดวลการ์ดและการดูเอล แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะชื่นชอบในเกมการ์ดเสมอไป อย่างที่เห็นว่าเกมเสาหลักของวงการการแข่งขันอีสปอร์ตทุกวันนี้มีล้วนมีแต่เกมประเภท MOBA หรือไม่ก็ FPS หรือแบทเทิลรอยัล ดังนั้นการจะผลักดันเกมประเภทเกมการ์ดให้ลงไปยังสนามอีสปอร์ตจึงเป็นอะไรที่แปลกใหม่เกินไป แม้จะผ่านมา 7 ปีนับตั้งแต่เกมเปิดตัวครั้งแรกแล้ว แต่เกมการ์ดก็ยังไม่พร้อมที่จะลงสังเวียนอีสปอร์ตใหญ่ ๆ อย่างเกมอื่นอยู่ดี
2. มีคนดูน้อย
สถานะของเกมนี้ในปัจจุบันก็สามารถบอกได้อย่างเต็มปากว่าเป็นเกมเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้ชื่นชอบการเล่นเกมการ์ดไปแล้ว และเพราะการเป็นเกมการ์ด ทำให้มีแนวทางและวิธีการเล่นเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง หากไม่ใช่ผู้ที่เคยเล่นเกม Hearthstone มาก่อนก็คงไม่รู้วิธีเล่นอย่างแน่นอน ไม่มีความเป็นสากลที่สามารถเข้าใจรูปแบบเกมได้ทันทีอย่าง MOBA ที่ต่อให้เราเล่น LoL แต่พอไปดูการแข่ง Dota ก็พอจะทำความเข้าใจได้ หรืออย่างเคยเล่นเกม PUBG มาก่อน แต่เห็นคนเล่น APEX ก็พอเดารูปแบบการเล่นและการต่อสู้ได้ เป็นต้น
เพราะความเฉพาะกลุ่มของการเป็นเกมการ์ดนั่นเองทำให้ไม่ค่อยมีจะยอดคนดูมากเท่าที่ควร บรรดานักยูทูปและนักแคสเกมหากไม่ใช่สายเกม Hearthstone โดยตรงก็ไม่มีใครอยากที่จะเล่นเกมนี้มากนัก ด้วยยอดวิวที่ไม่ค่อยกระเตื้อง เมื่อไม่มีใครเล่นหรือแคสให้ดูก็ยิ่งทำให้คนรู้จักเกมนี้น้อยเข้าไปอีก
ในปัจจุบันเองก็มีเกม Hearthstone ในการแข่งขันอีสปอร์ตน้อยมาก เพราะไม่สามารถดึงยอดผู้ชมและผู้เล่นให้มากได้เท่ากับเกมอื่น ซึ่งแน่นอนว่าสปอนเซอร์ก็คงอยากที่จะสนับสนุนเกมใหญ่ ๆ ที่สามารถเรียกคนดูและคนเล่นได้เยอะ ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ นักพนันสายอีสปอร์ตเองก็คงไม่ค่อยได้เห็นตารางการแข่งขันเกม Hearthstone กันเท่าไรนอกจากการแข่งขันเล็ก ๆ ภายในประเทศหรือระดับภูมิภาค หรือการโปรโมตจากค่ายเกมโดยตรงกันเท่าไรใช่ไหมล่ะ
3. มีความเท่าเทียมของการต่อสู้มากเกินไป
ทางด้านทีมงานผู้พัฒนาคงอยากที่จะทำให้เกมนี้มีความยุติธรรมเมื่อต่อสู้กันตัวต่อตัว แต่เพราะมีความยุติธรรมและเท่าเทียมกันมากเกินไป ทำให้ขาดรสชาติและความสนุกอย่างที่ควรจะเป็น ลองนึกภาพเป็นนักดาบที่เข้าไปต่อสู้กับมังกร ไม่ว่าใครก็คงอยากเห็นฉากระทึกใจว่าสุดท้ายมังกรที่แกร่งกว่าจะเอาชนะได้อย่างง่ายดาย หรือนักดาบจะพลิกสถานการณ์โจมตีจุดอ่อนจนชนะได้ใช่หรือเปล่า แต่คงไม่มีใครอยากเห็นสไลม์สองตัวผลัดกันตีทีละ -1 ไปจนกว่าเลือดจะหมดอย่างแน่นอน
แต่ในปัจจุบันทางค่ายเกมก็ยังคงพยายามผลักดันเกมนี้ต่อไป ด้วยความผลิตคอนเทนต์และอัปเดตชุดไพ่ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง และแฟนคลับเกมนี้ที่เป็นแฟนเกมการ์ดอย่างเหนียวแน่นก็ยังคงสนับสนุนอยู่เรื่อย ๆ